วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2562

อพท.เดินหน้าพัฒนานักสื่อความหมายชุมชนท่องเที่ยวภูหลวงครั้งที่ 2



องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ดร.แก้วตา ม่วงเกษม จัดกิจกรรมพัฒนานักสื่อความหมายชุมชน ภายใต้โครงการกิจกรรมพัฒนานักสื่อความหมายท้องถิ่น เพื่อต่อยอดจากโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนต้นแบบในปี พ.ศ. 2561 ในการพัฒนาบุคลากรที่มีบทบาทเกี่ยวของกับกิจกรรมสื่อความหมายของชุมชน ให้มีทักษะและความชํานาญในการสื่อความหมายตามเส้นทางที่ได้ออกแบบการเล่าเรื่องอย่างเป็นระบบ

ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ นายธรรมนูญ ภาคธูป กล่าวเปิดงานกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนานักสื่อความหมายชุมชน โครงการดีๆ จากสำนักท่องเที่ยวชุมชน (สทช.) ร่วมงานกับสำนักงานพื้นที่พิเศษ 5  โดยงานนี้จะทำให้ชุมชนไม่ว่าจะเป็นสมาชิกชมรม ผู้นำชุมชน และเยาวชน ได้เรียนรู้ว่าการเป็นนักสื่อความหมายชุมชนที่ดี เพื่อให้นักท่องเที่ยวประทับใจ ต้องทำอย่างไรบ้าง การจัดการ องค์ความรู้ที่เรามีอยู่แล้ว เพื่อเล่าออกไป รวมไปถึงนำสิ่งที่ได้ไปลงมือปฏิบัติจริง ทางพื้นที่พิเศษ 5 เล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการนี้อย่างมาก จึงได้เรียนเชิญชุมชนพี่น้องชุมชนภูหลวง จังหวัดเลย เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนานี้ไปพร้อมกัน เพื่อเป็นการพัฒนาเครือข่ายชุมชนท่องเที่ยวต่อไป





 โครงการพัฒนานักสื่อความหมายชุมชนนี้ เป็นการนำร่างหลักสูตรพัฒนานักสื่อความหมายชุมชนมาใช้ในพื้นที่พิเศษที่ทาง อพท. ได้คัดสรรไว้ โดยจะนำไปทดลองใช้จริงใน 6 พื้นที่พิเศษ คือ 1. ชุมชนดงเย็น จ.สุพรรณบุรี 2. ชุมชนม่วงตึ๊ด จ.น่าน 3. ชุมชนภูหลวง จ.เลย 4. ชุมชนหนองอ้อ จ.สุโขทัย 5. ชุมชนตะเคียนเตี้ย จ.ชลบุรี  และ 6. ชุมชนคลองใหญ่ จ. ตราด โดยต้องการที่จะพัฒนานักสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวให้มีพื้นฐานที่ดี ส่งผลต่อการต้อนรับผู้มาเยือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญในการเล่าเรื่องและเส้นทางสื่อความหมายในชุมชน อีกทั้งยังเป็นการเน้นย้ำความเป็นนักสื่อความหมายความพร้อมและมีศักยภาพในการเป็นต้นแบบของการพัฒนา ด้านนักสื่อความหมายในพื้นที่และสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านกระบวนการเสริมสร้างประสบการณ์ประทับใจ (เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญในการเล่าเรื่องและเส้นทางสื่อความหมายในชุมชน อีกทั้งยังเป็นการเน้นย้ำความเป็นนักสื่อความหมายความพร้อมและมีศักยภาพในการเป็นต้นแบบของการพัฒนา ด้านนักสื่อความหมายในพื้นที่และสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านกระบวนการเสริมสร้างประสบการณ์ประทับใจ (WOW) ให้แก่นักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างถูกต้อง






กิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นรูปแบบกิจกรรมทดลองทำสลับกับการบรรยายในหัวข้อต่างๆ โดยจะมุ่งพัฒนาศักยภาพและความสามารถของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น เช่น การจัดการอารมณ์ การอ่านภาษากายเบื้องต้น การเข้าถึงพฤติกรรมกลุ่มนักท่องเที่ยว และการทำงานเป็นทีม อีกทั้งยังเน้นย้ำความพร้อมทักษะในการเป็นนักสื่อความหมายชุมชน (Check Up WOW) 13 แนวทางเสริมสร้างประสบการณ์ WOW เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ 8 องค์ประกอบเส้นทางสร้างประสบการณ์ WOW สำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นต้น รวมทั้งการลงพื้นที่ปฏิบัติจริงพร้อมประเมินทักษะโดยเจ้าหน้าที่ อพท. และทีมนักวิจัย เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพบุคลากรในชุมชนต่อไป.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น