วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ปศุสัตว์เลยจับมือซีพีเอฟ จัดอบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู ป้องกันโรค ASF (ชมคลิป)




ปศุสัตว์จังหวัดเลย ร่วมกับบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท โซเอทิส (ประเทศไทย) จัดอบรม เรื่อง “เข้าใจ รู้ทัน ร่วมป้องกันโรค ASF ในสุกร” ให้กับผู้เลี้ยงหมูรายย่อยจังหวัดเลยกว่า 350 คน จากทั้งหมด 14 อำเภอ โดยมีนายโสภณ  สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลยเป็นประธานในพิธี เป็นจังหวัดที่ 20 ของภาคอีสาน


นายโสภณ  สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า เนื่องจากจังหวัดเลยเป็นจังหวัดเขตชายแดนของประเทศไทย ที่ต้องรับหน้าที่ในการเป็นปราการด่านแรกในการป้องกันโรค ASF ในสุกร ไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่อพี่น้องเกษตรกร  รวมถึงภาคเกษตรต่อเนื่องที่มีมูลค่ามหาศาลหากเกิดโรคระบาด  

ขณะนี้ จังหวัดเลยยังไม่มีรายงานการพบโรค ASF แต่มีการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและรับมือโดยได้บูรณาการกับปศุสัตว์จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันวางแผนและรับมือป้องกันผลกระทบที่มีต่อผู้เลี้ยงหมู และอุตสาหกรรมปศุสัตว์ รวมถึงความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่ พร้อมย้ำว่าจังหวัดเลยได้มีการควบคุมการนำเข้า การผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูอย่างเข้มงวด โดยมีหน่วยงานกองสารวัตรและกักกันสัตว์ ที่อยู่ประจำตามแนวชายแดนและประจำจุดผ่านแดน เพื่อควบคุมและห้ามไม่ให้มีการนำผลิตภัณฑ์จากหมูจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในเขตจังหวัดเลย หากตรวจพบการนำเข้าเนื้อ หรือผลิตภัณฑ์แปรรูปจากหมูจะมีการยึดและนำไปทำลายทันที ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์จากหมูที่ผู้บริโภคซื้อมีความปลอดภัย



ดร.สุวัฒน์  มัตราช ปศุสัตว์จังหวัดเลย กล่าวว่า ย้ำว่าขณะนี้ว่า “ประเทศไทยยังไม่พบโรค ASF ในสุกร ขอให้เกษตรกรและประชาชนมั่นใจในการดำเนินมาตรการที่เข้มงวดของปศุสัตว์จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปกป้องพี่น้องเกษตรกร” พร้อมย้ำกับผู้บริโภคทุกคนว่า โรค ASF ในสุกร เป็นโรคที่ไม่ติดต่อสู่คน  ปศุสัตว์ได้ให้ความสำคัญฟาร์มเลี้ยงหมูรายย่อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฟาร์มแบบเปิด มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่าย จึงจัดโครงการอบรมเรื่อง“เข้าใจ รู้ทัน ร่วมป้องกันโรค ASF ในสุกร” ให้กับเกษตรกรรายย่อย ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องในการป้องกันโรค ASF ในสุกร เพื่อขจัดความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติหากสงสัยว่ามีการเกิดโรค

ด้านนายณัฏฐ์เอก  เมืองไทยธัช ผู้บริหารอาวุโสด้านมวลชนสัมพันธ์และบริหารความเสี่ยง บริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ มีความห่วงใยผู้เลี้ยงหมูรายย่อยอื่นๆ เนื่องจากเกษตรกรรายย่อยถือเป็นผู้ประการเลี้ยงหมูเหมือนกัน อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันโรค ASF ในสุกร บริษัทจึงร่วมกับปศุสัตว์ จัดอบรม เรื่อง “เข้าใจ รู้ทัน ร่วมป้องกันโรค ASF ในสุกร” พร้อมเสริมความรู้เรื่อง “แนวทางการตั้งรับเมื่อโรค ASF มาเคาะประตูหน้าฟาร์ม” โดยสพ.ญ.พิชานันท์  วงศ์ชนะภัย บริษัท โซเอทิส (ประเทศไทย) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการผลิตหมูที่มีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน บริษัทฯ ได้ยกระดับมาตรการป้องกันโรค ในโรงงานอาหารสัตว์ ฟาร์มบริษัทและฟาร์มเกษตรกรในคอนแทร็คฟาร์ม จนถึงกระบวนการขนส่งตลอดทั้งห่วงโซ่




นอกจากการจัดอบรมให้ความรู้เกษตรกรรายย่อยแล้ว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการป้องกันโรคให้กับเกษตรกรรายย่อย บริษัทได้มอบผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อให้กับเกษตรกรที่มาอบรมฯ จาก 14 อำเภอทั่วจังหวัดเลย นำไปใช้ในการฆ่าเชื้อภายในฟาร์ม 

หากพบสุกรแสดงอาการป่วยตามกล่าวข้างต้น ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือ Call Center   ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (War Room)  จังหวัดสุรินทร์  กรมปศุสัตว์ DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เร่งดำเนินการให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น